วันเสาร์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ศาสตราจารย์ฝรั่งเศสรับอิสลาม


ศาสตราจารย์ฝรั่งเศสรับอิสลาม
French professor accepts Islam in KSA
โดย Shahid Ali Khan | Saudi Gazette
แปลโดย วาริษาฮ์ อัมรีล
กรุงริยาดซาอุดิอารเบีย – การปฏิบัติศาสนกิจอย่างเคร่งครัดของแพทย์หญิงชาวซาอุฯ ในฝรั่งเศสได้เป็นแรงบันดาลใจให้ศาสตราจารย์และนักวิทยาศาสตร์ฝรั่งเศสหันมารับอิสลาม
แพทย์หญิงเนบัล อัล-อันบาร์ ผู้มีดีกรีปริญญาเอกด้านจิตวิทยาและตอนนี้กำลังศึกษาต่อปริญญาเอกด้านประสาทวิทยา ทำงานที่ฝรั่งเศสมาเป็นเวลา 10 ปีแล้ว
เนบัลเคร่งศาสนาและปฏิบัติศาสนกิจอย่างครบถ้วน เธอทำทุกวิถีทางเพื่อให้เพื่อนร่วมงานได้รู้จักศาสนาอิสลามที่ถูกต้อง
เพื่อนร่วมงานหลายคนมักตั้งคำถามแบบอยากรู้อยากเห็นกับการปฏิบัตศาสนกิจของฉัน และหากมีโอกาสละก็ ฉันจะยื่นคัมภีร์อัล-กุรอานให้พวกเขาทันที” เนบัลกล่าวกับ ซาอุดิกาเซ็ต
หนึ่งในเพื่อนร่วมงานของเธอก็คือ นายแพทย์ดาร์เดนเนส โรแลนด์ วัย 48 ปี ผู้ซึ่งเพิ่งจะกล่าวปฏิญาณตนรับอิสลามที่ศูนย์ดะวะฮ์ดาวน์ทาวน์บาธาระหว่างการเดินทางเยือนกรุงริยาดเมื่อไม่กี่วันก่อน
คุณหมอดาร์เดนเนสเป็นศาสตราจารย์จิตเวชแห่งมหาวิทยาลัยปารีสเดส์การ์ตส์ และเป็นหนึ่งในผู้แสดงปาฐกถาในงานประชุมด้านการแพทย์ที่จัดขึ้นโดยศูนย์วิจัยเจ้าชายซัลมานเพื่อผู้ทุพพลภาพ
เมื่ออธิบายถึงเส้นทางการเข้าสู่อิสลามของเขา, นายแพทย์ดาร์เดนเนส – ซึ่งตอนนี้ใช้ชื่อ ‘ชารีฟ’ – กล่าวว่าเขาอ่านหนังสือพิมพ์ในฝรั่งเศสเรื่องความรุนแรง เรื่องแย่ๆ เกี่ยวกับมุสลิมเยอะมาก ทำให้ผู้อ่านมักเกิดภาพพจน์ที่ไม่ดีต่ออิสลาม ทั้งๆ ที่เรื่องราวเหล่านั้นกระทำโดยกลุ่มคนก้าวร้าวเพียงไม่กี่คน ซึ่งชารีฟบอกว่าเรื่องแบบนี้ก็เกิดขึ้นทุกสังคมในโลก ไม่ใช่แค่สังคมมุสลิม
อย่างไรก็ตาม เรื่องราวแย่ๆ บนหน้าหนังสือพิมพ์เหล่านั้นไม่มีความหมายอะไรต่อเขาเมื่อชารีฟได้เห็นความศรัทธาในอิสลามอย่างสุดซึ้งของคุณหมอเนบัล ทั้งการปฏิบัติศาสนกิจ การปฏิบัติตัวในทุกๆ วัน คุณหมอเนบัลไม่เคยขาดละหมาดแม้ต้องทำงานหนัก ซึ่งได้กลายเป็นแรงกระตุ้นสำคัญทำให้ชารีฟได้หันมาสนใจในศาสนานี้ และคุณหมอเนบัลก็ช่วยให้ชารีฟได้เข้าใจความหมายของอิสลามมากขึ้น
ชารีฟบอกว่า อิสลามโดนสื่อโลกตะวันตกวาดภาพซะเละ แต่วันเวลาก็พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าภาพเหล่านั้นเป็นภาพที่บิดเบือนเมื่อได้มาเห็นมุสลิมที่แท้จริงอย่างคุณหมอเนบัล วิถีชีวิตแบบอิสลาม – การละหมาดวันละ 5 เวลา การอ่านคัมภีร์อั-กุรอาน และถือศีลอดช่วงเดือนรอมดอน – ไม่เพียงทำให้ผมประทับใจ แต่ได้นำผมไปสู่การรับอิสลาม เขากล่าว
แต่การได้เห็นวิถีชีวิตอิสลามที่ซาอุดิอารเบียนั่นเองที่ทำให้เขาตัดสินใจรับอิสลามในที่สุด ชารีฟรู้สึกทึ่งในความถ่อมตนและความสุภาพของผู้คนที่แห่กันออกไปละหมาดที่มัสยิด
ผมไม่เคยคิดเลยว่าชาวมุสลิมจะปฏิบัติศาสนกิจกันทุกวัน ซึ่งอบอวลไปด้วยจิตวิญญาณและเชื่อมโยงศาสนาเข้ากับการใช้ชีวิตประจำวัน จริงๆ แล้วอิสลามคือการรวมกันเป็นกลุ่มก้อน ซึ่งเห็นได้จากพฤติกรรมของชาวมุสลิมนั่นเอง ไม่ว่าจะเป็นญาติกันหรือด้านอื่นๆ ของชีวิตก็ตาม” ชารีฟบอก
ชารีฟบอกอีกว่า เขาไม่รู้จะอธิบายความรู้สึกของคืนก่อนวันที่ 26 มีนาคมออกมาเป็นคำพูดอย่างไรเมื่อตัดสินใจจะปฏิญาณตนรับอิสลาม เรื่องที่เขาซีเรียสก็คือมีคนบอกว่าก่อนจะรับอิสลามต้องท่องอัล-กุรอานให้ได้เสียก่อน ซึ่งความเข้าใจผิดข้อนี้เขาได้เคลียร์เรียบร้อยแล้ว
ชารีฟถือกำเนิดและถูกเลี้ยงดูมาในครอบครัวชาวคริสต์ ซึ่งตอนนี้เขาต้องพยายามอธิบายเรื่องอิสลามให้พ่อแม่และลูกสาวสองคนวัย 15 และ 12 ปีเข้าใจด้วย พ่อของชารีฟเป็นชาวฝรั่งเศส ส่วนแม่เป็นชาวญี่ปุ่น หนึ่งในเหตุผลที่เขาเลือกชื่อมุสลิมว่า ชารีฟ ก็เพราะชื่อนี้คล้ายกับความหมายของคำญี่ปุ่น มาเซา ซึ่งแปลว่า ความสง่าและภูมิฐาน
พ่อของชารีฟศึกษาศาสนาต่างๆ มากมาย เลยไม่ใช่เรื่องยากที่จะทำให้พ่อเข้าใจในการเปลี่ยนศาสนาของเขา
การเดินทางไปเยือนเมกกะของเขาก็ช่างวิเศษสุด ชารีฟเคยดูสารคดีการทำฮัจย์ การตะวาฟรอบกะบะฮ์มามากมายหลายหน แต่การได้มาเห็นกะบะฮ์จริงๆ นี่ช่างเป็นประสบการณ์ที่แสนมหัศจรรย์
ไม่ว่าจะมองไปที่มุมไหนของมัสยิดอัล-หะรอมเมกกะ ทุกคนต่างก็กำลังจดจ่อกับละหมาด เป็นบรรยากาศที่สงบ ผมเห็นฮุจยาตแต่ละคนหากไม่ละหมาดละก็ กำลังวนรอบกะบะฮ์” เขากล่าว
ส่วนตอนที่ยืนใกล้ๆ กะบะฮ์นะหรือ ผมรู้สึกเลยว่าตัวเองเป็นเพียงแค่น้ำหยดหนึ่งในมหาสมุทรมวลมนุษย์ผู้ศรัทธา” ชารีฟเล่า
ที่มา: French professor accepts Islam in KSASaudi Gazette: Saudi Arabia. 17 April 2009.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น