วันเสาร์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2554

เด็กๆ ชาวโซมาเลียเสียชีวิต 1 คน ต่อ 6 นาที

ชมคลิปที่เด็กๆ ชาวโซมาเลียเสียชีวิตทุกๆ 6 นาที ติิดตามชมได้ทาง เวปไซต์ข้างล่างนี้

คลิปเศรษฐีชาวอาหรับ โปรยเงินให้สาวนักร้อง
http://www.youtube.com/watch?v=Jtl2ceSNo_k&feature=related

เด็กโซมาเลียเสียชีวิตต่อหน้าต่อตา
http://www.youtube.com/watch?v=pZ8nGTdTmkQ&feature=related

คลิปคนรวย คนจน
http://www.youtube.com/watch?v=Jtl2ceSNo_k&feature=related

ศาสตราจารย์ฝรั่งเศสรับอิสลาม


ศาสตราจารย์ฝรั่งเศสรับอิสลาม
French professor accepts Islam in KSA
โดย Shahid Ali Khan | Saudi Gazette
แปลโดย วาริษาฮ์ อัมรีล
กรุงริยาดซาอุดิอารเบีย – การปฏิบัติศาสนกิจอย่างเคร่งครัดของแพทย์หญิงชาวซาอุฯ ในฝรั่งเศสได้เป็นแรงบันดาลใจให้ศาสตราจารย์และนักวิทยาศาสตร์ฝรั่งเศสหันมารับอิสลาม
แพทย์หญิงเนบัล อัล-อันบาร์ ผู้มีดีกรีปริญญาเอกด้านจิตวิทยาและตอนนี้กำลังศึกษาต่อปริญญาเอกด้านประสาทวิทยา ทำงานที่ฝรั่งเศสมาเป็นเวลา 10 ปีแล้ว
เนบัลเคร่งศาสนาและปฏิบัติศาสนกิจอย่างครบถ้วน เธอทำทุกวิถีทางเพื่อให้เพื่อนร่วมงานได้รู้จักศาสนาอิสลามที่ถูกต้อง
เพื่อนร่วมงานหลายคนมักตั้งคำถามแบบอยากรู้อยากเห็นกับการปฏิบัตศาสนกิจของฉัน และหากมีโอกาสละก็ ฉันจะยื่นคัมภีร์อัล-กุรอานให้พวกเขาทันที” เนบัลกล่าวกับ ซาอุดิกาเซ็ต
หนึ่งในเพื่อนร่วมงานของเธอก็คือ นายแพทย์ดาร์เดนเนส โรแลนด์ วัย 48 ปี ผู้ซึ่งเพิ่งจะกล่าวปฏิญาณตนรับอิสลามที่ศูนย์ดะวะฮ์ดาวน์ทาวน์บาธาระหว่างการเดินทางเยือนกรุงริยาดเมื่อไม่กี่วันก่อน
คุณหมอดาร์เดนเนสเป็นศาสตราจารย์จิตเวชแห่งมหาวิทยาลัยปารีสเดส์การ์ตส์ และเป็นหนึ่งในผู้แสดงปาฐกถาในงานประชุมด้านการแพทย์ที่จัดขึ้นโดยศูนย์วิจัยเจ้าชายซัลมานเพื่อผู้ทุพพลภาพ
เมื่ออธิบายถึงเส้นทางการเข้าสู่อิสลามของเขา, นายแพทย์ดาร์เดนเนส – ซึ่งตอนนี้ใช้ชื่อ ‘ชารีฟ’ – กล่าวว่าเขาอ่านหนังสือพิมพ์ในฝรั่งเศสเรื่องความรุนแรง เรื่องแย่ๆ เกี่ยวกับมุสลิมเยอะมาก ทำให้ผู้อ่านมักเกิดภาพพจน์ที่ไม่ดีต่ออิสลาม ทั้งๆ ที่เรื่องราวเหล่านั้นกระทำโดยกลุ่มคนก้าวร้าวเพียงไม่กี่คน ซึ่งชารีฟบอกว่าเรื่องแบบนี้ก็เกิดขึ้นทุกสังคมในโลก ไม่ใช่แค่สังคมมุสลิม
อย่างไรก็ตาม เรื่องราวแย่ๆ บนหน้าหนังสือพิมพ์เหล่านั้นไม่มีความหมายอะไรต่อเขาเมื่อชารีฟได้เห็นความศรัทธาในอิสลามอย่างสุดซึ้งของคุณหมอเนบัล ทั้งการปฏิบัติศาสนกิจ การปฏิบัติตัวในทุกๆ วัน คุณหมอเนบัลไม่เคยขาดละหมาดแม้ต้องทำงานหนัก ซึ่งได้กลายเป็นแรงกระตุ้นสำคัญทำให้ชารีฟได้หันมาสนใจในศาสนานี้ และคุณหมอเนบัลก็ช่วยให้ชารีฟได้เข้าใจความหมายของอิสลามมากขึ้น
ชารีฟบอกว่า อิสลามโดนสื่อโลกตะวันตกวาดภาพซะเละ แต่วันเวลาก็พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าภาพเหล่านั้นเป็นภาพที่บิดเบือนเมื่อได้มาเห็นมุสลิมที่แท้จริงอย่างคุณหมอเนบัล วิถีชีวิตแบบอิสลาม – การละหมาดวันละ 5 เวลา การอ่านคัมภีร์อั-กุรอาน และถือศีลอดช่วงเดือนรอมดอน – ไม่เพียงทำให้ผมประทับใจ แต่ได้นำผมไปสู่การรับอิสลาม เขากล่าว
แต่การได้เห็นวิถีชีวิตอิสลามที่ซาอุดิอารเบียนั่นเองที่ทำให้เขาตัดสินใจรับอิสลามในที่สุด ชารีฟรู้สึกทึ่งในความถ่อมตนและความสุภาพของผู้คนที่แห่กันออกไปละหมาดที่มัสยิด
ผมไม่เคยคิดเลยว่าชาวมุสลิมจะปฏิบัติศาสนกิจกันทุกวัน ซึ่งอบอวลไปด้วยจิตวิญญาณและเชื่อมโยงศาสนาเข้ากับการใช้ชีวิตประจำวัน จริงๆ แล้วอิสลามคือการรวมกันเป็นกลุ่มก้อน ซึ่งเห็นได้จากพฤติกรรมของชาวมุสลิมนั่นเอง ไม่ว่าจะเป็นญาติกันหรือด้านอื่นๆ ของชีวิตก็ตาม” ชารีฟบอก
ชารีฟบอกอีกว่า เขาไม่รู้จะอธิบายความรู้สึกของคืนก่อนวันที่ 26 มีนาคมออกมาเป็นคำพูดอย่างไรเมื่อตัดสินใจจะปฏิญาณตนรับอิสลาม เรื่องที่เขาซีเรียสก็คือมีคนบอกว่าก่อนจะรับอิสลามต้องท่องอัล-กุรอานให้ได้เสียก่อน ซึ่งความเข้าใจผิดข้อนี้เขาได้เคลียร์เรียบร้อยแล้ว
ชารีฟถือกำเนิดและถูกเลี้ยงดูมาในครอบครัวชาวคริสต์ ซึ่งตอนนี้เขาต้องพยายามอธิบายเรื่องอิสลามให้พ่อแม่และลูกสาวสองคนวัย 15 และ 12 ปีเข้าใจด้วย พ่อของชารีฟเป็นชาวฝรั่งเศส ส่วนแม่เป็นชาวญี่ปุ่น หนึ่งในเหตุผลที่เขาเลือกชื่อมุสลิมว่า ชารีฟ ก็เพราะชื่อนี้คล้ายกับความหมายของคำญี่ปุ่น มาเซา ซึ่งแปลว่า ความสง่าและภูมิฐาน
พ่อของชารีฟศึกษาศาสนาต่างๆ มากมาย เลยไม่ใช่เรื่องยากที่จะทำให้พ่อเข้าใจในการเปลี่ยนศาสนาของเขา
การเดินทางไปเยือนเมกกะของเขาก็ช่างวิเศษสุด ชารีฟเคยดูสารคดีการทำฮัจย์ การตะวาฟรอบกะบะฮ์มามากมายหลายหน แต่การได้มาเห็นกะบะฮ์จริงๆ นี่ช่างเป็นประสบการณ์ที่แสนมหัศจรรย์
ไม่ว่าจะมองไปที่มุมไหนของมัสยิดอัล-หะรอมเมกกะ ทุกคนต่างก็กำลังจดจ่อกับละหมาด เป็นบรรยากาศที่สงบ ผมเห็นฮุจยาตแต่ละคนหากไม่ละหมาดละก็ กำลังวนรอบกะบะฮ์” เขากล่าว
ส่วนตอนที่ยืนใกล้ๆ กะบะฮ์นะหรือ ผมรู้สึกเลยว่าตัวเองเป็นเพียงแค่น้ำหยดหนึ่งในมหาสมุทรมวลมนุษย์ผู้ศรัทธา” ชารีฟเล่า
ที่มา: French professor accepts Islam in KSASaudi Gazette: Saudi Arabia. 17 April 2009.

โซมาเลียวิกฤต!! ขาดอาหารจนถือศีลอดเดือนรอมฎอนไม่ได้


หลังชาวโซมาเลียเผชิญกับภัยแล้งครั้งรุนแรง จนเป็นเหตุทำให้ชาวมุสลิมในโซมาลียไม่สามารถถือศีลอดในเดือนรอมฎอนนี้ได้
 
 




     เดือนรอมฎอนเป็นเดือนที่สำคัญของชาวมุสลิม โดยชาวมุสลิมจะถือศีลอด ตลอดทั้งเดือนเป็นเวลา 30 วัน ขณะที่ชาวโซมาลี ตกอยู่ในวิกฤตการณ์ภัยแล้งครั้งรุนแรงที่สุด ผู้คนชาวโซมาลีหลายคนก็ยังพยายามเข้าร่วมการอดอาหารในเดือนรอมฎอน แต่ก็ไม่สามารถทำได้ 



     หลังจากที่หลายประเทศในแอฟริกาตะวันออก ไม่ว่าจะเป็นเคนยา,เอธิโอเปีย , โซมาเลีย, เอริเทรีย และซูดานใต้เผชิญภัยแล้งครั้งรุนแรงที่สุดในรอบ 60 ปี และมีประชาชนราว 12 ล้านคนต้องการความช่วยเหลือ และตกอยู่ในภาวะขาดแคลนอาหารอย่างหนัก ซึ่งในแต่ละวัน มีเด็กเสียชีวิตจากขาดแคลนสารอาหารมากถึง 40-50 คน



     ชาวมุสลิมโซมาลีต้องเผชิญวิกฤตซ้ำ หลังขาดแคลนอาหารจนทำให้ไม่สามารถถือศีลอดในเดือนรอมฎอนได้ เนื่องจากประสบกับความแห้งแล้ง จึงไม่มีอาหารมาตั้งแต่ก่อนเข้าเดือนรอมฎอน



     ผู้อพยพชาวโซมาลีหนีความอดอยากมาอยู่ในค่ายอพยพในเขตประเทศเคนยา แต่ที่นี่ก็ยังคงไม่มีอาหารสำหรับพวกเขา ดูเหมือนว่าพวกเขาต้องอดอาหารก่อนเดือนรอมฎอนจะมาถึงเสียอีก โดยผู้อพยพกล่าวว่า "พวกเขาไม่อาจเหนียต(ตั้งใจ)ถือศีลอดได้ เนื่องจากไม่ได้กินอาหารซูโฮรฺ และไม่มีอาหารสำหรับการละศีลอด" 




     ในขณะที่มุสลิมทั่วโลกมีอาหารพิเศษสำหรับการละศีลอดในแต่ละวัน ชาวโซมาลีส่วนมากไม่มีอาหารกิน เนื่องจากไม่มีอาหารมาตั้งแต่ก่อนเข้าเดือนรอมฎอน อีกทั้งราคาอาหารในโลกมุสลิมพุ่งสูงขึ้นในช่วงเดือนรอมฎอน ทำให้ครอบครัวมุสลิมต้องใช้จ่ายเงินจำนวนสูงขึ้นเพื่อซื้ออาหาร



     อย่างไรก็ตามประชากรโซมาลีในทวีปแอฟริกากว่า 11 ล้านคน ต้องการความช่วยเหลือด้านอาหาร โดยเฉพาะประชาชนในโซมาเลียที่มีประมาณ 2.2 ล้านคน ในขณะที่ความขัดแย้งภายในเป็นอุปสรรคสำคัญต่อความช่วยเหลือจากองค์กรนานาชาติ



     ร่วมส่งกำลังใจและขอดุอาอฺจากพระองค์อัลลอฮฺ(ซบ.)ให้พี่น้องชาวโซมาลี พ้นจากภัยทั้งหลายทั้งปวงด้วย “มุสลิมเป็นพี่น้องกัน เปรียบประดุจเรือนร่างเดียวกัน ส่วนหนึ่งส่วนใดเจ็บป่วย ส่วนอื่นก็เจ็บป่วยด้วย” ดังที่อัลลอฮฺ(ซบ.) ทรงตรัสว่า “แท้จริงบรรดาผู้ศรัทธานั้นเป็นพี่น้องกัน”(ซูเราะห์ อัลหุญุร๊อต : 10)

ที่มา..สำนักข่าวไทยมุสลิม

แนะนำ ปอเนาะดีเด่น ชนะเลิศระดับจังหวัด ได้รับรางวัล 200,000 บาท จาก สช.

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สถาบันศึกษาปอเนาะวะอซุฏดีน สถาบันศึกษาปอเนาะวะอซุฏดีน เป็นปอเนาะที่ดำเนินตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง ตั้งอยู่ที่ 58 บ้านรอตันบาตู หมู่ที่ 7 ตำบลกะลุวอ อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส ตั้งอยู่ในเขต องค์การบริหารส่วนตำบลกะลุวอ มีนายมูฮัมมัดซอฟวาน มะมิง เป็นผู้บริหารสถาบันศึกษาปอเนาะวะอซุฏดีน แทนบิดาซึ่งเป็นโต๊ะครูของปอเนาะ มีชื่อว่าบาบออัลมัรฮูมมาฮมูด บินมูฮัมมัดอามีน ที่เสียชีวิตเมื่อเวลา 13.23 น วันที่ 15 กรกฎาคม 2551 มีผู้ช่วยโต๊ะครูทั้งหมด 4 คน บาบออัลมัรฮูมมาฮมูด ได้ตั้งชื่อปอเนาะว่า วะอซุฏดีน


ประวัติการก่อตั้งสถาบันศึกษาปอเนาะวะอซุฏดีน
สถาบันศึกษาปอเนาะวะอซุฏดีนได้ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2495 โดยการเริ่มต้นของบาบออัลมัรฮูมมาฮมูด บินมูฮัมมัดอามีน โดยอัลมัรฮูมเจะอับดุลกาเดร์ เจะมูฮัมมัด เป็นผู้วากัฟ(บริจาค)ที่ดิน 
สถาบันการศึกษาปอเนาะวะอซุฏดีนเจะอับดุลกาเดร์ เจะมูฮัมมัด เป็นผู้วากัฟ(บริจาค)ที่ดินจำนวน 21 ไร่ เพื่อใช้สร้างสถาบันการศึกษาให้แก่สังคม ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมาสถานศึกษาแห่งนี้ได้เปิดทำการเรียนการสอนตามรูปแบบปอเนาะเนื่องจากขาดซึ่งงบประมาณในการบริหารจัดการ ทำให้เป็นปัญหาในการจัดการเรียนการสอนปัญหาอาคารที่ใช้ในการบริหารจัดการ ปัญหาผู้เรียนผู้สอน ปัญหาอาคารเรียนและหอพัก ปอเนาะแห่งนี้จึงประสบปัญหาในการจัดการเรียนการสอนมาโดยตลอดจนกระทั่งได้มาถึงลูกหลานของท่านรุ่นที่สาม ด้วยเจตนารมณ์อันบริสุทธิของท่าน คณะผู้บริหารได้ตั้งเป้าหมายไว้ว่า จะดำเนินรอยตามให้บรรลุตามเจตนารมณ์ของท่านเจะอับดุลกาเดร์ เจะมูฮัมมัด โดยการบริหารจัดการที่เป็นระบบและมีความมั่นคงเจะอับดุลกาเดร์ เจะมูฮัมมัด เป็นบุคคลกลุ่มแรกที่มาก่อตั้งหมู่บ้านรอตันบาตู พร้อมกันนั้นท่านได้บริจาคที่ดินหลายแห่งเพื่อใช้ในการก่อสร้างไม่ว่าจะเป็นที่ดินที่ใช้ในเพื่อการสร้างมัสยิดนูรุลอิสลาม บ้านรอแตบาตู ที่ดินที่ใช้ในการก่อสร้างสถาบันการศึกษาปอเนาะวะอฺซุฏดีนและที่ดินที่ใช้ในการก่อสร้างโรงเรียนตาดีกา ท่านได้วากัฟ(บริจาค)ที่ดินเหล่านี้เพื่อลูกหลานจะได้มีการศึกษาที่ดีในอนาคตเจะอับดุลกาเดร์ เจะมูฮัมมัด เกิดเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2401 ซึ่งไม่ปรากฏบันทึกปีเกิดที่แน่ชัด แต่ได้รับข้อมูลซึ่งจากคำบอกเล่าของคนรุ่นลูกของท่าน เช่น นางเยาะ เจะกาเดร์ อายุ 82 ปี กับนางซูเยาะ เดคา อายุ 87 ปี ท่านน่าจะกำเนิดที่หมู่บ้านปาเซร์ฮอร์ โกตาบารู รัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย บิดาของท่านคือ เจะมูฮัมมัด เจะมูฮัมมัดกูบูร(สุสาน)อยู่ที่ปาเซร์ฮอร์ โกตาบารู รัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย (นางเยาะ เจะกาเดร์ อายุ 82 ปี (สัมภาษณ์ ) : 22 ธค. 2545)[แก้]การเสียชีวิตเจะอับดุลกาเดร์ เจะมูฮัมมัด เสียชีวิตเมื่อวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2508 รวมอายุของท่าน 107 ปี มัยยิด(ที่ฝังศพ)ของท่านอยู่ที่กุบูร์(สุสาน)หน้ามัสยิดนูรุลอิสลาม บ้านรอตันบาตู หมู่ที่ 7 ตำบลกะลุวอ อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส

บุตรธิดาบุตรธิดากับภรรยาคนแรกคือ โต๊ะซือรีมะห์ มีทั้งหมด 5 ท่าน ดังนี้
1.หะยีแมะหนิ (แมะสนิ) เจะกาเดร์ (เสียชีวิตแล้ว) 
2.หะยีซอและห์ (หะยีและ) เจะกาเดร์ (เสียชีวิตแล้ว) 
3.มารียัม (เจะแย) เจะกาเดร์ (เสียชีวิตแล้ว) 
4.อามีเนาะ เจะกาเดร์ (เสียชีวิตแล้ว) 
5.มูฮัมมัด (เจะมะ) เจะกาเดร์ (เสียชีวิตแล้ว) 
บุตรธิดากับภรรยาคนที่สองคือ นางมือแย มีทั้งหมดสองท่าน ดังนี้
6.เจะเยาะห์ เจะกาเดร์ 
7.เจะอาลี (เปาะอาเดะ) เจะกาเดร์ [แก้]

หลักสูตรสถาบันศึกษาปอเนาะวะอซุฏดีน
1.หลักสูตรตะฮ์ฟีซอัลกุรอาน ปัจจุบันสถาบันศึกษาปอเนาะวะอซุฏดีนใช้หลักสูตรตะฮ์ฟีซอัลกุรอาน การสอนนักเรียนโดยใช้หลักสูตร ตะฮ์ฟีซอัลกุรอาน คือ การเรียนการสอนเพื่อให้นักเรียนได้รู้จักกฏไวยากรณ์ หลักภาษา กฎการออกเสียง โดยยึดหลักการอ่านให้ถูกต้องตามหลักการอ่านออกเสียงภาษาอาหรับ 
2.หลักสูตรการศึกษานอกโรงเีรียน ( กศน. ) ปัจจุบันนี้ได้เปิดในระดับ ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โดยมี ศูนย์การศึกษานอกโรงเีรียน ( กศน. ) อำเภอเมืองนราธิวาส เป็นหน่วยงานที่ให้การสนับสนุน [แก้]

รายวิชาที่เปิดสอนในสถาบันศึกษาปอเนาะวะอซุฏดีน[Image]
1.รายวิชา ที่จัดการสอนในสถาบัน รายวิชา อัลกรุอาน [ القران] 

2.รายวิชา อัล-หะดิษ (วัจนะ ) [الحديث ] 
3.รายวิชา หลักการศัทธา (เตาฮิด ) [التوحيد ] 
4.รายวิชา ศาสนบัญญติ (ฟิกฮ์ ) [الفـقه ] 
5.รายวิชา อรรถาธิบายอัล-กรุอาน ( ตัฟซีร ) [ التفسير ] 
6.รายวิชา หลักการอานอัล-กรุอาน ( ตัจวีด ) [ التجويد ] 
7.รายวิชาหลักการอรรถาธิบายอัลกรุอาน (อุศูลตัฟซีร) [أصول التفسير] 
8.รายวิชา หลักการวัจนะ ( อุศูลหะดิษ ) [ أصول الحديث ] 
9.รายวิชาหลักการศาสนบัญญัติ ( อุศูลฟิกฮ์ ) [ أصول الفـقه ] 
10.รายวิชาแบ่งมรดก (ฟะรออิฎ ) [الفرائض ] 
11.รายวิชาตรรกวิทยา ( มันฏิก ) [المنطق ] 
12.รายวิชามากูลาต [ المقولات ] 
13.รายวิชามุสตอลาฮ หะดิษ [ مصطلح الحديث ] 
14.รายวิชาจริยธรรม ( อัลอัคลาก หรือ ตะเซาวุฟ )[ تصوّف ] /ตอรีกัต[طريـقـة ] /ฮากีกัต[ حقيـقة ] 
15.รายวิชาศาสนประวัติ ( ตาริค ) [ سجاره ] 
16.รายวิชาอักขรวิธี ( นะฮู ) [ النحو ] 
17.รายวิชาวากยสัมพันธ์ ( ซิรฟ์ ) [ الصرف ] 
18.รายวิชาภาษาอัล-กรุอาน (กีรออะฮ. ) [ قرأة العشر ] 
19.รายวิชาสำนวนโวหาร ( อัล—บะลาเฆาะฮ์ )[ البلاغة ] /อัลบายานี[ البيان ] /อัลมาอานี[ المعاني ] /อัลบาดีอู [ البديع ] 
20.รายวิชาการแตงกล่อน ( อัลอารุด ) [ العروض ]
ตารางเรียนของปอเนาะ

ภาพบรรยากาศ  การนำเสนอ กิจกรรมของปอเนาะให้แก่เจ้าหน้าที่ สช.
การประชุมร่วมกันระหว่างเจ้าหน้าที่จากสำนักงานการศึกษาเอกชน จ.นราธิวาส
ร่วมกับคณะครูผู้บริหาร นักเรียนและประชาชน

ภาพบรรยากาศ การนำเสนอ กิจกรรมของปอเนาะให้แก่เจ้าหน้าที่ สช.
การประชุมร่วมกันระหว่างเจ้าหน้าที่จากสำนักงานการศึกษาเอกชน จ.นราธิวาส
ร่วมกับคณะครูผู้บริหาร นักเรียนและประชาชน


ภาพบรรยากาศ 
การประชุมร่วมกันระหว่างเจ้าหน้าที่จากสำนักงานการศึกษาเอกชน จ.นราธิวาส

อนูเชห์ อนูเชห์ เศรษฐินีมุสลิม นักท่องอวกาศหญิงคนแรก


อนูเชห์ อนูเชห์ เศรษฐินีมุสลิม นักท่องอวกาศหญิงคนแรก
Anousheh Ansari, First Female Space Tourist
เธอยิ้มละไมอยู่ในห้วงอวกาศด้วยความปลาบปลื้มที่ฝันเป็นจริง...
อนูเชห์ อันซารี (Anusheh Ansari) วัย 40 ปี เป็นเศรษฐินีโทรคมนาคมชาวอิหร่านสัญชาติอเมริกัน ผู้ร่วมก่อตั้งและเป็นประธานบริษัทโปรเดีย ซิสเต็มส์ (Prodea Systems) มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่รัฐเท็กซัส ก่อนหน้านี้เธอเคยร่วมก่อตั้งและเป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) ของบริษัทเทเลคอมเทคโนโลยี หรือ ทีทีไอ(Telecom Technologies) หรือ ทีทีไอ (TTI) ประวัติศาสตร์โลกได้จารึกว่าอนูเชห์เป็นสตรีคนแรก เป็นสตรีมุสลิมคนแรก และเป็นชาวอิหร่านคนแรกที่ได้ท่องเที่ยวอวกาศ เธอนับเป็นนักท่องเที่ยวอวกาศรายที่ 4 แล้ว
อิหร่านบ้านเกิด
อนูเชห์ ราอิสยาน (Anusheh Raissyan) เกิดเมื่อวันที่ 12 กันยายน ค.ศ.1966 ที่เมือง มัชฮาด (Mashhad)ประเทศอิหร่าน จากนั้นไม่นานครอบครัวของเธอก็อพยพไปอยู่ในกรุงเตหะราน เมืองหลวงของอิหร่าน อนูเชห์พูดภาษาอิหร่านและฝรั่งเศส อนูเชห์อยุ่ในเตหะรานช่วงเกิดเหตุการณ์ปฏิวัติอิหร่านในปีค.ศ.1979 ต่อมาในปี 1984 ครอบครัวเธอได้อพยพไปตั้งรกรากในประเทศสหรัฐฯ ในขณะนั้นเธอแทบพูดภาษาอังกฤษไม่ได้เลย แต่ด้วยความมานะพยายาม 5 ปีต่อมาอนูเชห์คว้าปริญญาตรีทั้งสาขาวิศวะไฟฟ้าและสาขาคอมพิวเตอร์ที่มหาวิทยาลัยจอร์จ เมสัน และต่อโทที่มหาวิทยาลัยจอร์จ วอชิงตัน
ชีวิตการทำงาน
หลังจบการศึกษา อนูเชห์เริ่มทำงานที่บริษัท เอ็มซีไอ (MCI) บริษัทโทรศัพท์ชื่อดังของสหรัฐฯ ซึ่งเธอได้พบกับ ฮามิด อันซารี (Hamid Ansari)สามีของเธอ ในปี 1993 อนูเชห์ชักชวนสามีและ อามีร์ อันซารี (Amir Ansari) น้องชายของสามีนำเงินเก็บและเงินสำรองเลี้ยงชีพของพวกเขามาร่วมก่อตั้งบริษัทเทเลคอมเทคโนโลยี หรือ ทีทีไอ นับว่าพวกเขาทั้งเก่งและเฮงมาก เพราะช่วงนั้นเป็นช่วงเริ่มเปิดเสรีธุรกิจโทรคมนาคมของสหรัฐฯ ฮามิด สามีของอนูเชห์บอกว่าแรกๆ ทีทีไอก็ล้มลุกคลุกคลานอยู่หลายปีเหมือนกันกว่าจะสามารถทำรายได้ปีละหลายสิบล้าน ต่อมาในปี 2000 ช่วงบูมสุดของธุรกิจโทรคมนาคม พวกเขาขายหุ้นของบริษัททีทีไอให้กับบริษัทโซนัสเน็ทเวิร์ก (Sonus Network) ด้วยมูลค่าถึง 550 ล้านเหรียญสหรัฐ(ประมาณ 20,000 ล้านบาทเศษบริษัททีทีไอถือว่าเป็น 1 ใน 500 บริษัทที่เติบโตเร็วที่สุดตามการจัดอันดับของนิตยสารธุรกิจ
ต่อมาอนูเชห์ร่วมก่อตั้งและเป็นประธานบริษัท โปรเดีย ซิสเต็มส์ ซึ่งเป็นบริษัทการลงทุนของครอบครัว โปรเดียได้ประกาศร่วมทุนกับสเปซแอดเวนเจอร์และองค์การบริหารการบินและอวกาศรัสเซีย สร้างยานอวกาศเพื่อการพาณิชย์ ทำให้อนูเชห์ได้ฝึกเป็นนักบินอวกาศกับสเปซแอดเวนเจอร์
นักท่องเที่ยวอวกาศหญิงคนแรกของโลก
แม้ว่ารัฐบาลสหรัฐฯ และอิหร่านจะไม่ลงรอยกันในเรื่องโครงการนิวเคลียร์ของอิหร่าน แต่อนูเชห์ประกาศว่า จะอุทิศภารกิจอวกาศที่เป็นโอกาสแรกของตนที่จะมองเห็นโลกจากมุมมองในอวกาศเพื่อให้คนทั่วโลกตระหนักในความกลมเกลียว
คุณจะได้เห็นว่าโลกของเราเล็กและบอบบางขนาดไหน หากได้ขึ้นไปมองโดยเปรียบเทียบกับจักรวาลที่กว้างใหญ่ นั่นจะทำให้เกิดสำนึกรับผิดชอบต่อโลกมากขึ้นกว่าเดิม อนูเชห์วัย 40 ปีกล่าวก่อนออกเดินทางอย่างที่ฝันมาตั้งแต่วัยเด็ก
ในวันประวัติศาสตร์ของเธอ อนูเชห์สวมชุดนักบินอวกาศที่ติดธง 2 ชาติ คือ อิหร่านอันเป็นบ้านเกิด และสหรัฐฯ ที่เธอเป็นพลเมืองอยู่ในปัจจุบัน โดยเธอกล่าวว่า ทั้ง 2 ประเทศหล่อหลอมให้เธอเป็นอย่างดี เธอเกิดที่อิหร่านและอยู่ที่นั่นจนอายุ 16 ถึงย้ายมาที่สหรัฐฯ ดังนั้นจึงซึมซับวัฒนธรรมอิหร่านเข้ามามากมาย ขณะเดียวกันก็อยู่สหรัฐฯ มายาวนานและมีโอกาสมากมาย รวมถึงโอกาสที่ได้มาเป็นนักบินอวกาศ
ยานโซยูซ (Soyuz TMA-9) ของรัสเซียนำอนูเชห์ทะยานออกจากฐานปล่อยจรวดที่ไบโคนูร์ ประเทศคาซักสถาน เมื่อ 12.08 น. ตามเวลาในไทย วันที่ 18 กันยายน ค.ศ.2006 โซยุซจอดเทียบสถานีอวกาศนานาชาติ (ไอเอสเอส) อย่างราบรื่นเมื่อ 20 ก.ย. โดยศูนย์ควบคุมภาคพื้นดินที่เมืองโคโรเลฟ นอกกรุงมอสโก ได้แพร่สัญญาณภาพขณะนักบินทั้ง 3 ก้าวเข้าสู่ไอเอสเอส โดยไทยูรินหันมาให้ความมั่นใจกับญาติๆ ของอนูเชห์ที่เฝ้าดูอยู่บนพื้นโลกว่า พวกเราจะดูแลเธอเอง
เธอกลับถึงโลกวันที่ 28 กันยายน ค.ศ.2006 คาดว่าอนูเชห์จ่ายค่าแพคเกจทัวร์นอกโลกมูลค่าประมาณ 20 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (เกือบ 800 ล้านบาท)ก่อนหน้านี้อนูเชห์ต้องเข้าค่ายเตรียมตัวที่ศูนย์ Gagarin Cosmonaut Training Center (GCTC) ประเทศรัสเซียมานานหลายเดือนในฐานะนักท่องเที่ยวตัวสำรองหากเศรษฐีกระเป๋าหนักที่จ่ายเงินก่อนไม่สามารถไปได้ ส้มหล่นมาถึงอนูเชห์ได้ก็เพราะ ไดสึเกะ อีโนะโมะโตะ (Daisuke Enomoto)นักธุรกิจชาวญี่ปุ่น นักท่องเที่ยวตัวจริงซื้อทัวร์อวกาศไว้ต้องอดเดินทางในโค้งสุดท้ายเพราะตรวจร่างกายไม่ผ่าน
อนูเชห์เดินทางพร้อมกับ มิคาอิล ไทอูริน (Mikhail Tyurin) นักบินอวกาศรัสเซีย และ มิเกล โลเปซ-อเลเกรีย (Miguel Lopez-Alegria) นักบินอวกาศอเมริกันเชื้อสายสเปน ภารกิจการเดินทางของนักบินอวกาศตัวจริงก็คือการเปลี่ยนเวรเฝ้าสถานีอวกาศแทนพาเวล วิโนกราดอฟ ( Pavel Vinogradov) จากรัสเซีย และเจฟฟ์ วิลเลียมส์ (Jeff Williams) จากสหรัฐฯ ที่เฝ้าทำงานบนสถานีอวกาศมาตั้งแต่วันที่ เมษายน ค.ศ.2006 อนูเชห์เดินทางกลับโลกกับแคปซูลโซยูซ TMA-8 รวมเวลาท่องอวกาศของเธอ 10 วัน
บรรดาญาติของอนูเชห์ มหาเศรษฐีอิหร่าน-อเมริกัน ต่างแสดงความยินดีและภาคภูมิใจขณะเฝ้าชมการเคลื่อนไหวของอนูเชห์บนสถานีอวกาศ ด้านฮามิด อนูเชห์ สามีของอนูเชห์ กล่าวว่า อนูเชห์สร้างประวัติศาสตร์ เธอโชคดีมากที่มีพี่เลี้ยงนักบินเก่งและช่วยฝึกเธอมาอย่างดี ขณะที่อาตูซา ราอิสยาน น้องสาวของอนูเชห์ กล่าวด้วยความปลื้มใจว่าเธอรู้อยู่แล้วไม่ช้าหรือเร็วอนูเชห์ต้องมีวันนี้ เพราะการเดินทางไปอวกาศเป็นสิ่งที่อนูเชห์ใฝ่ฝันตั้งแต่เด็ก
อนูเชห์เล่าอีกว่า นับเป็นช่วงเวลาที่สุดยอดมากที่ได้เดินทางออกไปนอกโลกมองเห็นโลกทั้งใบท่ามกลางอวกาศอันมืดมิด เธอว่าการบินสู่อวกาศนั้นติดอยู่ในหัวใจและในวิญญาณของเธอ
ตั้งแต่เด็กกระทั่งเป็นผู้ใหญ่ ฉันมักมองท้องฟ้าดูดวงดาว และสงสัยเสมอว่าถ้าออกไปอยู่นอกโลกจะเป็นอย่างไร และในจักรวาลเป็นยังไง อนูเชห์เล่าอย่างตื่นเต้นหลังจากเตรียมการบินมาตั้งแต่ต้นปี
ก่อนหน้านี้มีเศรษฐีซื้อแพกเกจทัวร์ท่องเที่ยวอวกาศเดินทางไปพร้อมกับโซยุซแล้ว 3 ราย ไม่ว่าจะเป็นเดนนิส ติโต (Dennis Tito) ในฐานะนักท่องอวกาศคนแรกของโลกมาร์ก ชัทเทิลเวิร์ธ (Mark Shuttleworth), และเกรก โอลสัน (Greg Olsen) ส่วนอนูเชห์ถือเป็นนักท่องเที่ยวอวกาศรายที่ 4แต่เป็นนักท่องเที่ยวหญิงคนแรกของประวัติศาสตร์การไปอวกาศเพื่อการท่องเที่ยว
อนูเชห์มิได้เป็นชาวตะวันออกกลางคนแรกที่เดินทางท่องอวกาศ ก่อนหน้านี้ในปี 1985 ซัลมาน อับดุลอาซิซ อัล-ซาอุด นักวิจัยจากประเทศซาอุดิอารเบีย เคยเดินทางสู่อวกาศมาแล้ว
ด้านการกุศล วันที่ 5 พฤษภาคม 2004 ครอบครัวของอนูเชห์บริจาคเงินให้แก่มูลนิธิเอ็กซ์ไพรซ์ (X Prize Foundation) เป็นจำนวนมาก จนทำให้ทางมูลนิธิต้องนำนามสกุลของเธอมาขึ้นต้นไว้เพื่อเป็นการให้เกียรติ ชื่อรางวัลจึงกลายมาเป็น อันซารี เอ็กซ์ ไพรซ์ (Ansari X Prize) รางวัลนี้มีมูลค่าสูงถึง 10 ล้านเหรียญสหรัฐฯ มอบให้กับบริษัทเอกชนรายแรกที่สามารถนำมนุษย์ไปสู่อวกาศได้ และ เบิร์ต รูทัน (Burt Rutan) นักบินอวกาศรุ่นเดอะก็ได้รับเงินรางวัลนี้ไปในปี 2004
อนูเชห์ยังเป็นกรรมการขององค์กรการกุศลหลายแห่งเช่น Make-a-Wish Foundation ที่ด้านเหนือของรัฐเท็กซัส Childrens Advocacy Center ที่เมืองคอลลิน และ Ashoka Foundation
ด้านธุรกิจ อนูเชห์เคยรับรางวัลมากมาย เช่น รางวัลนักธุรกิจหญิงที่ประสบความสำเร็จที่สุด ปี 2000 จากนิตยสารเวิร์กกิ้งวูแมน นิตยสารฟอร์จูน ยกให้อนูเชห์ติด 1 ใน 40 นักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จตั้งแต่อายุน้อยกว่า 40 ปี ประจำปี 2001

อีดิลฟิตรีย์ 2009 ที่บอสเนีย


อีดิลฟิตรีย์ 2009 ที่บอสเนีย

รอมดอนที่รัสเซีย: เลี้ยงอาหารเด็กกำพร้า


รอมดอนที่รัสเซีย: เลี้ยงอาหารเด็กกำพร้า
Ramadan in Russia: Feed the orphans
เด็กๆ มุสลิมรัสเซียจากสถานเลี้ยงเด็กกำพร้ากำลังเอ็นจอยงานละศีลอดเมื่อคืนวันที่ 11 กันยายน 2009 (น่ารัก น่าเอ็นดูทุกคน)
แปลโดย วาริษาฮ์ อัมรีล
กาซาน, แคว้นตาตาร์สถาน, รัสเซีย – เมื่อวันศุกร์ที่ 11 กันยายนที่ผ่านมา ศูนย์วัฒนธรรมนานาชาติ อิสฮัค ฮัซรัต ที่มัสยิดซากาบันนอย ได้จัดงานรอมดอนแก่เด็กๆ มุสลิม 60 คนจากสถานเลี้ยงเด็กกำพร้าชายเลขที่ 11 เมืองกาซาน เริ่มต้นจากจัดทัวร์ให้หนูๆ ทั้งหลายดูงานของกองดับเพลิงเพื่อจะได้รู้จักงานอุบัติภัยฉุกเฉิน เด็กๆ ได้ลองนั่งรถดับเพลิง ไซเรน ลองควบคุมความดันในการฉีดน้ำดับเพลิง จากนั้นมีการสาธิตให้ดูการช่วยชีวิตคนเมื่อเกิดอัคคีภัย
ที่มา: Ramadan in Russia: Feed the orphans. www.islamnew.ru/ : Russia. 12 September 2009.